วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กิจกรรมการวาดภาพ

การวาดภาพ (Drawing)



หลักการวาดเขียนเบื้องต้น

     ผู้ที่เริ่มฝึกหัดวาดเขียนใหม่ๆ มักมีปัญหาว่าจะเขียนอะไรก่อนและเขียนอย่างไร ทั้งนี้เพราะสิ่งที่เป็นแบบในการวาดเขียนนั้นมีหลายประเภทและมีส่วนของราย ละเอียดต่างๆมากมาย จนไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร สิ่งที่มองเห็นไม่ว่าจะเป็นรูปทรง แสง เงา และพื้นผิว ชนิดต่างๆ ก่อให้เกิดความซับซ้อนจนผู้ที่ฝึกวาดเขียน มองเห็นว่ายากเกินไปที่จะจับลักษณะสำคัญได้
     เปรียบเสมือนการสร้างบ้าน เราไม่สามารถเริ่มต้นด้วยการมุงหลังคา ติดประตูหน้าต่างหรือเดินสายไฟก่อน แต่จะเริ่มต้นด้วยการตั้งเสาและคาน ซึ่งเป็นโครง สร้างทั้งหมดของบ้านเสียก่อน เมื่อโครงสร้างถูกต้อง มั่นคงแข็งแรงดีแล้ว จึงไล่ลำดับไปสู่การมุงหลังคา ทำฝาผนัง ทำพื้น ตกแต่งภายใน กับการเขียนภาพก็เช่นเดียวกัน ผู้เขียนภาพจะต้องพิจารณาหุ่นต้นแบบอย่างละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน แล้วจะค้นพบและเข้าใจโครงสร้างของหุ่นต้นแบบจากนั้นก็จะกลาย เป็นเรื่อง ง่ายเพราะลำดับวิธีการที่ถูกต้องนั่นเอง
วาดเส้น (Drawing)
     การวาดเส้นมีวิธีการและขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากโดยใช้เส้นต่างๆ แสดงถึงลักษณะการเคลื่อนไหวของเส้น น้ำหนักของเส้น และความมั่นใจในการวาดเส้น สิ่งที่ผู้ฝึกควรฝึกด้วยตัวเองในขั้นแรกให้เขียนเส้นตรง เส้นตั้ง และเส้นเอียง เส้นเฉียงซ้ำๆ กัน ฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้เส้น-ผสานกับมือและสายตา โดยให้สังเกตจากแสงเงาเป็นตัวกำหนดน้ำหนัก





ลักษณะของเส้น (CHARACTERISTICS OF LINE)
       ลักษณะของเส้นก็คือคุณค่าทางกายภาพของเส้นนั่นเอง ขนาดและทิศทางของเส้นจะมีลักษณะของความ
หมาย เช่นเดียวกับลักษณะนั้นๆ เช่น
ลักษณะที่ 1 เส้นดิ่ง และ เส้นตั้ง แสดงถึงความมั่นคงแข็งแรง,สง่า สงบ,คงอยู่ตลอดไป,มั่นคงถาวร,ไม่เคลื่อนไหว นิยมใช้สำหรับการเขียนภาพอาคาร อย่างเช่น สร้างรูปแบบของธนาคารที่มีเส้นตรงๆ ให้ความรู้สึกถึงความมั่นคงแข็งแรง ไม่ล้มง่าย หมายถึงความรู้สึกของผู้ที่เข้าไปฝากธนาคารด้วย อย่างนี้เป็นต้น
ลักษณะที่ 2 เส้นขนาน และ เส้นนอน แสดงถึงความรู้สึกไม่สิ้นสุดไปได้เรื่อยๆ ความสงบ,ความราบรื่น ความเรียบง่าย
ลักษณะที่ 3 เส้นเฉียง แสดงถึงความรู้สึกไม่มั่นคง,อันตราย,กำลังจะล้มแล้ว,โอนเอน,โอนอ่อนผ่อนตาม
ความไม่สมดุล
ลักษณะที่ 4 เส้นหยัก โดยใช้เส้นเฉียงมาต่อกันในลักษณะคล้ายๆ กับฟันปลา แสดงถึงความแหลมคม บาดเจ็บ,อันตราย,การทำลาย,การเคลื่อนไหวที่มีพลังอย่างต่อเนื่อง การขึ้นๆ ลงๆ ของดัชนีอย่างตลาดหุ้น ซึ่งมี
เป็นเส้นพารากราฟขึ้นมา
ลักษณะที่ 5 เส้นโค้ง แสดงถึงความอ่อนน้อม,นุ่มนวล
ลักษณะที่ 6 เส้นขยุกขยิก แสดงถึงความสับสน,ยุ่งเหยิง,วุ่นวาย,ตื่นเต้น
นอกจากลักษณะของเส้นแล้วยังมีทิศทางของเส้น ได้แก่แนวราบ แนวเฉียง แนวลึก แนวดิ่ง จากทิศทางก็เป็นขนาด ขนาดของเส้นนั้นไม่มีความกว้างมีแต่ความหนา ความบาง เส้นใหญ่หรือเส้นเล็ก ความหนาของเส้นจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบกับความยาวเป็นหลัก เพราะเส้นที่สั้นมากจะมีความหนาดูคล้ายกับเป็นรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งจะหมดคุณสมบัติของเส้นจะกลายเป็นรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ลำดับขั้นตอนในการร่างภาพ

1. สังเกตลักษณะของหุ่น
2. ร่างภาพโครงสร้างสัดส่วนให้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ
วิธีการร่างภาพโครงสร้าง-สัดส่วนมีวิธีการดังนี้
2.1 ให้ลากเส้นตรงในแนวดิ่งหนึ่งเส้น
2.2 จากนั้นกำหนดส่วนสูงที่สุดของหุ่นและส่วนที่ต่ำที่สุดของหุ่นโดยการลากเส้นในแนวนอนให้ตั้งฉากกับเส้นดิ่ง
2.3 กำหนดความกว้างของหุ่นโดยประมาณ แล้วกำหนดสัดส่วนให้เท่ากัน
2.4 เมื่อกำหนดโครงสร้างรวมของหุ่นแล้ว จากนั้นให้เขียนเส้นโค้ง เส้นเว้า เพื่อให้โครงสร้างใกล้เคียงหุ่นมากที่สุด
3. ลงน้ำหนักรวมๆของหุ่น
4 .แรน้ำหนักพร้อมทั้งเก็บรายละเอียด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น